โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ : Openbiblio

ซอฟต์แวร์สำหรับบริการจัดการห้องสมุด มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Library Management System (LMS) หรือ Integrated Library System (ILS) มีความสามารถหลักๆ คือ มีระบบจัดเก็บรายละเอียดบรรณานุกรมของหนังสือ (รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และมีระบบสมาชิกที่สามารถติดตามสถานะการยืมคืนหนังสือได้อย่างสะดวก โดยทั่วไปมักจะแบ่งส่วนติดต่อกับผู้ใช้ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนสำหรับให้บรรณารักษ์ใช้งาน กับอีกส่วนสำหรับให้สมาชิกใช้ค้นหาหนังสือที่ต้องการ ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ ILS อยู่หลายตัว มีทั้งที่ขายในเชิงพาณิชย์ และที่มีลิขสิทธิ์เป็นโอเพนซอร์ส โดยโอเพนซอร์สที่คนนิยมนำไปใช้กันมาก มีสองตัว คือ Koha เหมาะกับห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และ OpenBiblio ที่เหมาะกับห้องสมุดขนาดเล็ก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน เป็นต้น

โอเพ่นดรีม และ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มองเห็นศักยภาพของ OpenBiblio ในแง่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราจึงได้ร่วมมือกันต่อยอดพัฒนาฟีเจอร์ที่คิดว่าน่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์และสมาชิกห้องสมุดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย หลังจากที่ร่วมมือกันพัฒนาอยู่หลายเดือน ในที่สุดก็ได้ OpenBiblio ฉบับปรับปรุงใหม่ ซึ่งเราได้ตั้งชื่อสำหรับการพัฒนาครั้งนี้ว่า “หอไตร” (หอไตร หมายถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นหอสูงสำหรับเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกหรือหนังสือธรรมทางพุทธศาสนา) หรือเรียกง่ายๆ OpenBiblio รุ่นหอไตร โดยความสามารถหลักๆ ที่พัฒนาปรับปรุงในรุ่นนี้ มีดังนี้

  • แสดงผลข้อความต่างๆ เป็นภาษาไทย
  • ระบบออกรายงาน PDF ที่สามารถแสดงผลภาษาไทยได้ถูกต้อง
  • สามารถค้นหารายการหนังสือจากห้องสมุดขนาดใหญ่ภายในประเทศได้
  • สามารถค้นหาภาพปกหนังสือจาก Amazon ได้ (ส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ)
  • เพิ่มการค้นหาขั้นสูงเข้าไปในส่วนการค้นหารายการบรรณานุกรม
  • ระบบนำเข้า/ส่งออก ข้อมูลบรรณานุกรมและข้อมูลสมาชิก
  • ปรับเปลี่ยนการแสดงผลให้ใช้ง่ายและสวยงามมากขึ้น
  • ฯลฯ

ที่มา : opendream

Link : Opendrem รุ่น หอไตร

Source Code : https://github.com/opendream/hotri

 

สนับสนุนโดย MM88NOW MM88OPEN เว็บไซต์แทงบอลออนไลน์ดีมีคุณภาพ การันตีความมั่นคง 100%  ข่าวกีฬาออนไลน์ ตารางบอล โปรแกรมบอล โปรแกรมฟุตบอล ถ่ายทอดสดฟุตบอล บอลวันนี้ ฟุตบอลคืนนี้ ทีเด็ดบอล วิเคราะห์บอล ฟุตบอลวันนี้ เว็บดูหนังออนไลน์ฟรี ดูหนังออนไลน์ ดูหนังออนไลน์ฟรี  ดูหนังออนไลน์ HD ดูหนังออนไลน์ HD ฟรี

การจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ

ทีนี้เรามาหาศึกษาต่อว่าวิธีการจัดการจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติเปงอย่างไร สำหรับโปรแกรมสำหรับใช้งานในห้องสมุด สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

1. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเอง (In-house System) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาและสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานมากที่สุด
ข้อดี
– ได้โปรแกรมขึ้นมาใช้งานตรงตามความต้องการ และเหมาะกับงานโดยเฉพาะ เพราะห้องสมุดแต่ละแห่ง / หน่วยงานอาจมีเงื่อนไข หรือลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกัน
– สามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมได้เองหากพบว่าโปรแกรมไม่สมบูรณ์ หรทอไม่สามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์

ข้อเสีย
– ทำให้เสียเวลาในการทำงาน เพราะต้องลองผิดองถูกจนกว่าจะได้ตามความต้องการ
– สิ้นเปลืองเพราะการพัฒนาโปรแกรมจะต้องเสียค่าใช้จ่าย
– ต้องเสียเวลาในการศึกษา และเตรียมข้อมูลเพื่อเขียนโปรแกรม

2. โปรแกรมประยุกต์ หรือดัดแปลง (Adapt System) เป็นการนำเอาระบบหรือ โปรแกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นที่ใช้อยู่แล้วทำการสำเนาโปรแกรมนั้นมาดัดแปลง และนำมาใช้ที่ห้องสมุดของตนเอง

ข้อดี
– ประหยัดค่าใช้จ่าย
– ไม่เสียเวลาในการดำเนินงานเพราะไม่ต้องลองผิดลองถูกเนื่องจากไปนำเอาโปรแกรมที่เห็นว่าเหมาะสม และสามารถใช้งานได้แล้วนำมาใช้หน่วยงานได้เลย

ข้อเสีย
– ระบบที่ประยุกต์หรือดัดแปลงมาอาจจะมีคุณสมบัติที่เฉพาะตัว เพราะ โปรแกรมเมอร์อาจเขียนขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับห้องสมุดแห่งอื่น ซึ่งอาจมี สภาพแตกต่างไปจากห้องสมุดที่นำมาประยุกต์ใช้

3. โปรแกรมสำเร็จรูป (Turnkey System) เป็นโปรแกรมที่ผลิตโดยบริษัทเพื่อมาจำหน่าย หรือเพื่อการค้า ห้องสมุดจะนิยมจัดหาโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในงานห้องสมุดมากกว่า

ข้อดี
– ห้องสมุดสามาถทดสอบ และทดลองใช้โปรแกรมต่างๆ จากการจำหน่ายเพื่อพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อได้
– การนำระบบมาติดตั้งในห้องสมุดสามารถติดตั้งได้ทันที
– ประหยัดค่าใช้จ่ายในการออกแบบ และการทดสอบ
– บริษัทและร้านค้าทำหน้าที่รับผิดชอบให้ระบบดำเนินงานได้ และรับผิดชอบในการพัฒนาระบบ
– หากมีปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรม หรือการใช้งานจะมีบริษัทมาดูแลหรือจัดการให้

ข้อเสีย
– ราคาแพง
– ไม่สามารถพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้เอง ต้องให้บริษัทเป็นผู้ดำเนินการให้เท่านั้น

ทีนี้ ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะวิเคราะห์ความต้องการของตนเอง และกำหนดว่าจะนำระบบห้องสมุุดอัตโนมัติแบบใดมาใช้งาน โดยการพิจารณาเลือกใช้งานนั้นจะต้องพิจารณางบประมาณที่มีอยู่ประกอบกันด้วย

 

สนับสนุนโดย MM88NOW MM88OPEN เว็บไซต์แทงบอลออนไลน์ดีมีคุณภาพ การันตีความมั่นคง 100%  ข่าวกีฬาออนไลน์ ตารางบอล โปรแกรมบอล โปรแกรมฟุตบอล ถ่ายทอดสดฟุตบอล บอลวันนี้ ฟุตบอลคืนนี้ ทีเด็ดบอล วิเคราะห์บอล ฟุตบอลวันนี้ เว็บดูหนังออนไลน์ฟรี ดูหนังออนไลน์ ดูหนังออนไลน์ฟรี  ดูหนังออนไลน์ HD ดูหนังออนไลน์ HD ฟรี

ห้องสมุดอัตโนมัติ หรือ Library Automation (ภาคที่ 2)

เมื่อจะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาใช้ จึงต้องมีการพิจารณาหน้าที่การทำงานต่าง ๆของระบบเพื่อให้รองรับการทำงานของห้องสมุดในระบบเดิม จึงมีการแบ่งออกเป็น Module ต่าง ๆ ตามหน้าที่การทำงานของห้องสมุด ออกเป็น
•Acquisition module หรือ ระบบงานพัฒนาทรัพยากร
•Cataloging module หรือ ระบบงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
•Circulation module หรือ ระบบงานยืม-คืน
•Serial control module หรือ ระบบงานควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
•Online Public Access Catalog (OPAC) หรือ ระบบงานสืบค้นออนไลน์

นี่เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ควรมีเป็นพื้นฐาน แต่นอกเหนือจากนี้ยังจำเป็นต้องมีระบบรายงาน ระบบสมาชิกต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนอีกเพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในการให้บริการ

 

สนับสนุนโดย MM88NOW MM88OPEN เว็บไซต์แทงบอลออนไลน์ดีมีคุณภาพ การันตีความมั่นคง 100%  ข่าวกีฬาออนไลน์ ตารางบอล โปรแกรมบอล โปรแกรมฟุตบอล ถ่ายทอดสดฟุตบอล บอลวันนี้ ฟุตบอลคืนนี้ ทีเด็ดบอล วิเคราะห์บอล ฟุตบอลวันนี้ เว็บดูหนังออนไลน์ฟรี ดูหนังออนไลน์ ดูหนังออนไลน์ฟรี  ดูหนังออนไลน์ HD ดูหนังออนไลน์ HD ฟรี

ห้องสมุดอัตโนมัติ หรือ Library Automation (ภาคที่ 1)

ห้องสมุดอัตโนมัติ หรือ Library Automation หรือ Automated Library หรือ Integrated Library System (ILS หรือ บางครั้งอาจได้ยินว่า ระบบห้องสมุดแบบบูรณาการ) หมายถึง การนำระบบห้องสมุดตามหน้าที่งานต่าง ๆ ตั้งแต่ การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ การยืม-คืน การสืบค้น การจัดการวารสาร (ซึ่งเป็นระบบที่ค่อนข้างยุ่งจึงได้มีการแยกออกเป็น Module ใหญ่ต่างหาก ไม่รวมกับทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ ของห้องสมุด) มาเชื่อมโยงกันเพื่อให้สามารถทำงานได้แบบบูรณาการกัน

ระบบเดิม
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เช่น เมื่อซื้อหนังสือ ซีดี-รอม วารสาร วิดีทัศน์ เป็นต้น ซื้อแล้้วใบ Invoice หรือใบสั่งซื้อหนังสือ ก็ process ไปตามช่องทางเพื่อเบิกซื้อ และตัดงบประมาณเป็นแบบ manual และทางการเงินก็จะไปทำบัญชีตัดยอดงบประมาณของการสั่งซื้อให้อีกที โดยบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหาทรัพยากรสารสนเทศจะต้องเป็นคนดูแลและจัดทำรายการงบประมาณในส่วนของการซื้อขึ้นไปยังฝ่ายสำนักงานเลขานุการ เพื่อควบคุมงบประมาณในแต่ละปี

เมื่อหนังสือหรือเอกสาร สื่อโสตฯ ที่ไ้ด้มาไม่ว่าจากการสั่งซื้อ รับบริจาคหรือแลกเปลี่ยน ก็จะถูกส่งไปยังฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เืพื่ออ่านและลงรายการบัตรร่าง จากนั้นส่งให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ดีดในบัตรรายการ บรรณารักษ์จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์บัตรรายการ (ครบชุด) เจ้าหน้าที่เอาบัตรรายการไปเรียงที่ตู้บัตรรายการ บรรณารักษ์ตรวจการเีรียงบัตรรายการ ความถูกต้องของการเขียนสัน พิมพ์บัตรยืม ตัวเล่มให้ถูกต้องแล้งส่งไปยังฝ่ายบริการ

ฝ่ายบริการนำหนังสือขึ้นชั้น เรียงตามเลขหมู่หนังสือ

เมื่อผู้ใช้ค้นหาหนังสือหรือสื่ออื่น ๆ จากบัตรรายการ ได้รายการที่ถูกต้องแล้ว นำหนังสือมายืมที่ฝ่ายบริการยืม คืน เจ้าหน้าที่ หรือบรรณารักษ์ฝ่ายยืม คืน จะให้เขียนชื่อผู้ยืม ชื่อหนังสือ ลงในบัตรยืมแล้วประทับตราวันกำหนดส่งที่บัตรยืม ทั้งนี้มีระเบียบการยืมว่า หนังสือประเภทสามารถยืมออกได้ ยืมออกไม่ได้ สามารถยืมได้ไว้ในครอบครองกี่เล่มตามสถานภาพของผู้ใช้

เมื่อผู้ใช้นำหนังสือมาคืน ตามกำหนด เจ้าหน้าที่ประทับตรารับคืนที่บัตรยืมของผู้ใช้ และที่บัตรยืมหลังตัวเล่ม ถ้าคืนเิกินกำหนด จะถูกปรับ โดยออกใบเสร็จให้

เพราะฉะนั้น ที่กล่าวมานี้คือ ระบบเดิม เมื่อมีระบบห้องสมุดแบบบูรณาการเข้ามาใช้ ก็สามารถทำให้เีราเชื่อมโยงการทำงานตั้งแต่ การจัดหา วิเคราะห์ จนจบกระบวนการ

ขอยืมข้อมูลนะครับ จาก http://www.stks.or.th/blog/?p=67

 

สนับสนุนโดย MM88NOW MM88OPEN เว็บไซต์แทงบอลออนไลน์ดีมีคุณภาพ การันตีความมั่นคง 100%  ข่าวกีฬาออนไลน์ ตารางบอล โปรแกรมบอล โปรแกรมฟุตบอล ถ่ายทอดสดฟุตบอล บอลวันนี้ ฟุตบอลคืนนี้ ทีเด็ดบอล วิเคราะห์บอล ฟุตบอลวันนี้ เว็บดูหนังออนไลน์ฟรี ดูหนังออนไลน์ ดูหนังออนไลน์ฟรี  ดูหนังออนไลน์ HD ดูหนังออนไลน์ HD ฟรี